เริ่มจากการลอกเลียนแบบสู่การพัฒนาชิ้นงาน
การลอกเลียนแบบเป็นจุดเริ่มต้นสู่การพัฒนาชิ้นงานศิลปะของตนเอง หลายนวัตกรรมในโลกมาจาก “ Copy & Development ” หรือ การลอกเลียนและพัฒนาต่อยอด เนื่องจากทุกสิ่งย่อมมีที่มาจากของเดิมบางอย่างที่มีอยู่ก่อนแล้ว จึงไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมด 100%
สำหรับเด็กบางคน เมื่อทำงานศิลปะแบบอิสระ บางครั้งอาจมีจินตนาการแต่ถ่ายทอดไม่ได้ ครูควรแนะนำให้เด็กค้นหาภาพหรือสิ่งที่ตนต้องการสร้างสรรค์นั้นคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับอะไร เพื่อนำมาเป็นต้นแบบหรือข้อมูลอ้างอิง จากนั้นให้เด็กพัฒนาต่อยอดจากต้นแบบนั้น โดยปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตนต้องการนำเสนอ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการถ่ายทอดความคิดเป็นรูปภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทบาทของครูคือการนำเสนอแนวทางการเริ่มต้นจากการลอกเลียน เพื่อให้เด็กเข้าใจรูปร่างรูปทรง และหาวัตถุดิบหรือภาพอ้างอิง ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นคลังภาพที่ดีสำหรับเด็ก เมื่อมีวัตถุดิบพร้อม การพัฒนาชิ้นงานก็จะง่ายขึ้น
สำหรับเด็กที่ชอบคิดสร้างสรรค์ ครูอาจสร้างเกมง่ายๆ ให้เด็กจับคู่สิ่งต่างๆ เช่น สัตว์ หรือวัตถุ เพื่อให้เด็กใช้ความคิด แล้วตั้งคำถามว่าการรวมกันนั้นเป็นไปได้หรือไม่ เพื่อกระตุ้นจินตนาการ แต่ไม่ควรเน้นถูกผิด เพียงแต่สร้างความสนุกและลดความน่าเบื่อของการสร้างงานศิลปะ
วิธี “ Copy & Development ” จึงเหมาะสำหรับทั้งเด็กที่มีไอเดียสร้างสรรค์แต่นำเสนอไม่ได้เพื่อให้เด็กได้พัฒนาไปสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะของตนเองออกมาเป็นรูปธรรมให้ได้โดยการลอกเลียนและปรับเปลี่ยนปรับใช้ให้เหมาะสมหรือตรงกับสิ่งที่ตนอยากนำเสนอ ซึ่งตรงนี้จะเป็นพื้นฐานของการนำเสนอความคิดที่เป็นรูปภาพความสอดคล้องของนามธรรม (ภาพในใจ) กับรูปธรรม(ภาพที่นำเสนอ) นั่นเอง
ดังนั้น ในการเรียนศิลปะ เด็กๆ อาจเริ่มต้นจากการลอกเลียน เพื่อให้เข้าใจบริบทพื้นฐานของรูปร่างรูปทรงรวมไปถึงการหาวัตถุดิบของภาพอ้างอิง ซึ่งยิ่งหามากยิ่งเป็นคลังภาพที่ดีให้กับเด็ก เมื่อวัตถุดิบพร้อม การพัฒนาชิ้นงานก็จะง่ายขึ้น
สำหรับเด็กที่ชอบคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ครูอาจสร้างเกมง่ายๆ ให้กับเด็ก โดยให้เด็กจับคู่ของสองสิ่งมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นการนำสัตว์ต่างๆ มารวมตัวกัน หรือข้าวของเครื่องใช้มาผสมกัน และต่อยอดด้วยคำถามว่ามันเป็นไปได้หรือไม่เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิด เช่น
+ ช้างรวมกับนกอินทรีจะเป็นอย่างไร?
+ ช้างตัวหนักจะบินได้เหมือนนกอินทรีหรือไม่
+ เตารีดรวมกับมือถือจะเป็นอย่างไร เป็นต้น
แต่อย่าลืมว่าการสนทนานั้นเป้าหมายเพื่อให้เกิดความคิด แต่ไม่ใช่การถกเถียงเอาถูกผิดแพ้ชนะหรือทำได้หรือไม่ได้
เป็นเกมจินตนาการที่สร้างความเป็นไปได้อย่างสนุกๆ และลดความน่าเบื่อของการสร้างงานศิลปะที่บางครั้งเด็กอาจจะลอกเลียนอย่างเดียว C&D จึงเหมาะกับทั้งเด็กที่มีไอเดียบรรเจิดแตกต่างแต่นำเสนอไม่ได้และเด็กที่ยังไม่มีไอเดียว่าจะวาดหรือสร้างสรรค์งานอย่างไร